วีเอ็นยูฯ และ ITEC สองผู้จัดงานแถลงข่าวการจัดงาน ILDEX Vietnam (อิลเด็กซ์ เวียดนาม) พร้อมดันขึ้นสู่งานระดับแนวหน้าของตลาดเวียดนามภายใต้เครือข่ายการจัดงานที่เข้มแข็งของ VIV Worldwide
ILDEX Vietnam งานแสดงสินค้า เครื่องมือ และเทคโนโลยีสำหรับธุรกิจปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม การแปรรูปเนื้อสัตว์ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จัดอย่างต่อเนื่องมาเป็นครั้งที่ 9 โดยผู้จัดงาน วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค และ International Technology Exhibitor and Events Company (ITEC) ซึ่งเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการหนึ่งเดียวในประเทศเวียดนาม ซึ่งมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2566 ณ Hanoi Melia Hotel กรุงฮานอย ภายในงานมีการเชิญวิทยากรรับเชิญจาก Dr. Nguyễn Xuân Dương, Chairman of Animal Husbandry Association of Vietnam และ Dr. Nguyễn Thanh Sơn, Chairman of Vietnam Poultry Association มาแบ่งปันข้อมูลของการตลาดและการลงทุนในธุรกิจการดูแลสุขภาพสัตว์ในฟาร์ม และ ตลาดสัตว์ปีกในเวียดนาม พร้อมด้วยคุณปนัดดา ก๋งม้า ผู้อำนวยการสายงานธุรกิจเกษตร-ปศุสัตว์และฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค ให้ข้อมูลแนวทางการจัดงานในปี 2024 และโอกาสทางธุรกิจผ่านงานแสดงสินค้า ILDEX Vietnam 2024 ซึ่งมีกำหนดการจัดงานระหว่างวันที่ 29-31 พฤษภาคม 2567 ที่ Saigon Exhibition and Convention Center (SECC) ในนครโฮจิมินห์ เพื่อสร้างความสมบูรณ์แบบในการสร้างแบรนด์ เพิ่มการรับรู้สำหรับบริษัทที่ต้องการเข้าสู่ตลาดเวียดนามและขยายเครือข่ายธุรกิจที่แข็งแรง
งานแสดงสินค้าในครั้งนี้จะกลับมาเดินหน้าอย่างเต็มรูปแบบ โดยมีบริษัทชั้นนำกว่า 200 รายจากทั่วโลก และคาดการณ์ว่าจะมีผู้เข้าชมงานแสดงสินค้ามากกว่า 10,000 คน อีกทั้งทางผู้จัดฯได้ตระหนักถึงการเติบโตอย่างมากของธุรกิจการแปรรูปเนื้อสัตว์ในเวียดนามและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฝั่งธุรกิจการแปรรูปอาหารจึงนำมาสู่การแนะนำโซนไฮไลท์ใหม่ที่ภายใต้ชื่อ ‘Meat Pro Pavilion’ โดยพาวิลเลี่ยนแห่งนี้จะจัดแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปเนื้อสัตว์และบรรจุภัณฑ์จากแบรนด์ต่าง ๆ พร้อมกับการสาธิตการใช้เครื่องจักรโดยผู้เชี่ยวชาญ และจัดสรรโปรแกรมสัมมนาในปี 2567 ให้สอดคล้องกับโปรไฟล์ดังกล่าว
“ธุรกิจในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ที่เฟื่องฟูของเวียดนามมอบโอกาสมากมายให้กับนักลงทุนต่างชาติที่เล็งเห็นถึงศักยภาพการเติบโตที่สูงของตลาดนี้ ILDEX Vietnam ทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มที่ส่งเสริมให้แบรนด์ได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมในตลาดเวียดนาม พร้อมด้วยสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับพันธมิตรในท้องถิ่น รวมถึงรัฐบาล สมาคม และผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านปศุสัตว์ของทั้งประเทศ ร่วมกับพันธมิตรใหม่ของเราอย่าง ITEC และสนับสนุนโดย VIV Worldwide เรามั่นใจว่างาน ILDEX Vietnam 2024 จะเป็นงานแสดงสินค้าที่ยอดเยี่ยม ที่ช่วยตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของเราที่มีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมปศุสัตว์ในประเทศเวียดนาม” – คุณ ปนัดดา ก๋งม้าผู้อำนวยการสายงานธุรกิจเกษตร-ปศุสัตว์ และฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค
งาน ILDEX Vietnam 2024 ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากรัฐบาลเวียดนามและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนองค์กรและสมาคมหลายแห่ง อาทิเช่น Animal Husbandry Association of Vietnam, Vietnam Poultry Association และ Vietnam Ruminant Husbandry Association เพื่อส่งเสริมการแสดงสินค้าและการจัดประชุมและสัมมนา ด้วยความร่วมมือเหล่านี้จะทำให้ผู้เข้าร่วมฟังสัมมนาได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตลาดปศุสัตว์ของเวียดนาม อาทิ เทคโนโลยีการควบคุมการผลิตคาร์บอนในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ความปลอดภัยทางชีวภาพด้านปศุสัตว์และเศรษฐกิจหมุนเวียนในการเลี้ยงสัตว์ และอุตสาหกรรมปศุสัตว์ในเวียดนาม ทั้งโอกาสทางธุรกิจและการจัดการความท้าทายใหม่ เป็นต้น
เวียดนาม – ตลาดที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วสำหรับอุตสาหกรรมปศุสัตว์ การผลิตภัณฑ์นม การแปรรูปเนื้อสัตว์ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
จากการสำรวจอัตราการเติบโตของตลาดเวียดนามพบว่า ประเทศเวียดนามมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็นโอกาศที่สำคัญสำหรับนักลงทุนและธุรกิจต่างชาติที่ก้าวเข้าสู่ตลาดนี้ทั้งด้านการลงทุนและความต้องการของตลาดที่สำคัญ อาทิ การนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตวคุณภาพสูง อาหารและผลิตผลที่เน้นคุณค่าทางโภชนาการ และการถ่ายทอดพันธุกรรมสัตว์ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นต้น โดยผลผลิตรวมของการผลิตในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ของเวียดนามมีมูลค่าประมาณ 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-6 จากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2564 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมอาหาร การเกษตร และปศุสัตว์ รวมถึงโควิด-19, ASF และไข้หวัดนก ทำให้ความต้องการในตลาดเวียดนามคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีต่อๆ ไป ความต้องการวัตถุดิบอาหารสัตว์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 28-30 ล้านตันต่อปี คิดเป็นมูลค่า 12-13 พันล้านดอลลาร์ในอีก 5 ปีข้างหน้า การผลิตอาหารสัตว์เติบโตมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นร้อยละ 13-15 ต่อปี ทำให้เวียดนามกลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 10 ของโลกและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งหมดนี้นำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจอันยิ่งใหญ่สำหรับนักลงทุนต่างชาติและผู้ที่เกี่ยวข้อง
ในอดีต เนื้อหมูและสัตว์ปีกเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเวียดนาม เนื่องจากมีราคาย่อมเยาและวางจำหน่ายอย่างแพร่หลาย โดยมีรายงานว่า เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปริมาณการผลิตเนื้อหมูมากที่สุดในโลก โดยมีการผลิตมากกว่า 4.19 พันล้านเมตริกตันในปี 2564 ในปัจจุบัน ธุรกิจปศุสัตว์ในเวียดนามผลิตและบริโภคผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภทมากขึ้น ซึ่งคลอบคลุมถึงเนื้อสัตว์เกือบทุกประเภท ได้แก่ เนื้อหมู เนื้อไก่และไข่ เนื้อวัว และนม
ในปีที่ผ่านมา เวียดนามได้ร่วมมือด้านการเกษตร โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่จากประเทศอื่นๆมาประยุกต์ใช้มากขึ้น เช่น เทคโนโลยีจากประเทศจีน ญี่ปุ่น ฟินแลนด์ และเนเธอร์แลนด์ เช่นบริษัท De Heus Group จากประเทศ เนเธอร์แลนด์ โดยได้ทำสัญญาลงนามกับรัฐบาลจังหวัด Kon Tum เพื่ออำนวยความสะดวกในการสำรวจ วิจัย และลงทุนในโครงการเกษตรสมัยใหม่จำนวนมากในพื้นที่ ซึ่งสอดคล้องกับโอกาสสำคัญสำหรับธุรกิจต่างชาติที่จะทำงานร่วมกับบริษัทในท้องถิ่นเพื่อยกระดับฟาร์ม หรือมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อเพิ่มผลผลิต โดยจุดสำคัญในการสร้างโอกาสในอุตสาหกรรมปัจจุบันก็คือการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการทำฟาร์มอัจฉริยะ การใช้บล็อกเชนเป็นตัวช่วย การพัฒนาเครื่องจักรและซอฟต์แวร์ รวมถึงเทคโนโลยีทางพันธุกรรม
ILDEX Vietnam 2024 พร้อมแล้วที่จะต้อนรับผู้ประกอบการทุกท่านสู่ตลาดเวียดนาม ระหว่างวันที่ 29-31 พฤษภาคม 2567 ที่ Saigon Exhibition and Convention Center (SECC) ในนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ติดต่อสอบถามรายละเอียดของบูธแสดงงานได้ที่ www.ildex-vietnam.com อีเมล [email protected] โทร.02-1116611 ต่อ 221 (วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค)
——————————————————————————————————————————-
ติดต่อเรา
International Technology Exhibition and Events Joint Stock Company
โทร (+84) 243 5562292 อีเมล [email protected], เว็ปไซต์ www.itec.com.vn
วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค
โทร +66 2 111 6611 | อีเมล [email protected], เว็ปไซต์ www.vnuasiapacific.com
สื่อมวลชน กรุณาติดต่อ
ฝ่ายสื่อสารการตลาด โทร. 02-1116611 ต่อ 330-331 อีเมล [email protected]