กรุงเทพมหานคร – งานประชุมและนิทรรศการ AGRICONNECT 2023 ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมเกษตรเยอรมัน (ดีแอลจี) และ วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิก ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าภาพในการจัดงานอย่างเป็นทางการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความท้าทายที่ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญอยู่ จากการคาดการณ์ความต้องการในอาหารที่จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 40% เนื่องจากคาดว่าประชากรโลกจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 9 พันล้านคนภายในปีพ.ศ. 2593 ซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการจัดหาจัดการ อาทิ การขาดแคลนด้านแรงงาน, การแข่งขันที่เข้มข้นด้านทรัพยากร และความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม โดยการประชุมและการจัดนิทรรศการนี้จะมีขึ้นในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณ. ทรู ดิจิทัล พาร์ค กรุงเทพมหานคร โดยการจัดงานครั้งนี้จะสามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 300 คน จากหลากหลายสาขาในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรนานาประเทศ เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเกษตรที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงานสามารถเลือกเข้าเยี่ยมชมตัวอย่างการบริหารจัดการฟาร์มแบบยั่งยืนได้ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ผู้สนใจสามารถสำรองที่นั่งโดยการลงทะเบียนและชำระค่าบัตรผ่านเข้างานได้ที่นี่ www.agritechnica-asia.com/agriconnect/
สำหรับธีมการจัดงานในครั้งนี้ ” Eco-efficiency: Solutions for Environmental Farming Business.” หรือ “ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ: ทางออกสำหรับธุรกิจการเกษตรเพื่อสิ่งแวดล้อม” เป็นการผสมผสานหัวข้อต่างๆ เพื่อบูรณาการแนวทางการทำการเกษตรแบบยั่งยืนที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการนำแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมาใช้ กอปรกับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มี และการยอมรับหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อลดผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ต่อสิ่งแวดล้อมในขณะที่ยังสามารถเพิ่มพูนผลกำไรสูงสุด กลยุทธ์สำคัญที่ว่านี้ รวมถึงการปลูกพืชหมุนเวียน การจัดการสารอาหารและศัตรูพืชแบบผสมผสาน การเกษตรแบบแม่นยำ พลังงานหมุนเวียน และการจัดการสิ่งตกค้างจากพืชผล โดยภาพรวมทั้งหมด การเกษตรแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมถือเป็นกุญแจสำคัญในการบรรลุผลกำไรและธุรกิจการเกษตรที่ยั่งยืน
งานประชุมและนิทรรศการ AGRICONNECT 2023 เป็นงานการประชุมและนิทรรศการที่ขับเคลื่อนและต่อยอดจากงานนิทรรศการ AGRITECHNICA ASIA และ HORTI ASIA ซึ่งถือเป็นงานนิทรรศการชั้นนำด้านการเกษตรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานนี้จะมีวิทยากรมากกว่า 30 คนจาก 9 ประเทศ และผู้สนับสนุนด้านนวัตกรรมการเกษตร รวมไปถึงวิทยากรหลักและตัวแทนจากองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN-FAO) และสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (IRRI) โดยวิทยากรทั้งหมดจะมาเสวนาแบ่งปันแนวทางปฏิบัติและวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดในกว่า 15 หัวข้อ
ซึ่งผู้จัดงานเล็งเห็นว่า การกล่าวถึงเรื่องความท้าทายด้านสภาพอากาศโลก หรือจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการขาดแคลนการจัดหาอาหารเป็นสิ่งสำคัญ โดยวัตถุประสงค์การจัดการประชุมครั้งนี้เพื่อการทำความเข้าใจถึงการเพิ่มพูนผลผลิตพืชผลด้วยทัศนคติที่ก้าวไกลในการขับเคลื่อนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 ภาครัฐ และภาคเอกชนทั้งในไทย และต่างประเทศจะร่วมกันนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องกับการเกษตรล่าสุดภายในงาน นอกจากนี้ งานประชุมและนิทรรศการ AGRICONNECT 2023 ยังมีการรวมตัวของเหล่าวิทยากรจากหลากหลายสาขาในอุตสาหกรรมการเกษตร โดยจะมาเสวนาแลกเปลี่ยนซึ่งองค์ความรู้ที่ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ อันเกี่ยวข้องสอดคล้องกับการเกษตรแบบยั่งยืน ซึ่งไฮไลท์บางส่วนของการเสวนา ประกอบด้วย:
การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม: โดยการเสวนาในช่วงนี้ ทางงานได้รับเกียรติจาก นายนรภัทร แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งจะพูดถึงภาพรวมเกี่ยวกับความคิดริเริ่มของกระทรวงในด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และนายทาคายูกิ ฮากิวาระ หัวหน้าโครงการระดับภูมิภาคขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN-FAO) จะกล่าวถึงขั้นตอนความสำเร็จจากเกษตรกรสู่ผู้บริหารธุรกิจ
นวัตกรรมเพื่อการทำฟาร์มอัจฉริยะ: สำหรับการเสวนาในช่วงนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงวิถีของเทคโนโลยีว่าสามารถมีบทบาทสำคัญในการรักษาอนาคตที่รุ่งเรืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างไร ซึ่งในหัวข้อนี้ นายแมทธิว แมคโดนัล ผู้จัดการความแม่นยำด้านผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ บริษัท ซีเอ็นเอช อินดัสเทรียล จำกัด จะมาร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกในหัวข้อนี้ นอกจากนี้ นายสจ๊วต แอนดรูว์ส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไบโอไซ (ประเทศไทย) จำกัด จะมาบรรยายประสบการณ์ในการนำฐานข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้ได้จริง และการทำฟาร์มอัจฉริยะ อีกทั้ง นายโทเบียส เฟาส์ช หัวหน้าเจ้าหน้าที่นวัตกรรม ของ บริษัท เบวา (เยอรมัน) จำกัด จะมาพูดถึงความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืนและแบบจำลองเสมือนของวัตถุทางกายภาพที่ถูกสร้างขึ้นจากการบูรณาการเทคโนโลยี ตามด้วยการเสวนาที่จัดโดยโครงการความร่วมมือเยอรมัน-ไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาฟาร์มแบบคลัสเตอร์(แปลงใหญ่) อย่างยั่งยืนในประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของกรมส่งเสริมการเกษตรและสมาคมวิศวกรรมเกษตรไทย โดยจะเสวนาเกี่ยวกับมุมมองของความสำเร็จ ความท้าทาย และโอกาสของการปรับตัวสู่การทำการเกษตรอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีในประเทศไทย
ทั้งนี้ ดร.บียอร์น โอเล แซนเดอร์ ผู้แทนของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ ประจำประเทศเวียดนาม จะพูดถึงการแลกเปลี่ยนระดับภูมิภาคเกี่ยวกับกฎข้อบังคับของตลาดคาร์บอนสำหรับภาคเกษตร โดยจะมีการนำเสนอกรณีตัวอย่างของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นอกจากนี้ ยังมีการเสวนาของคณะผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการเกษตรแนวตั้ง โดยมี นางคริสทีน ซิมเมอร์มานน์-โลสเซิล ประธานและผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมเพื่อการเกษตรแนวตั้ง (เยอรมัน) และนายราล์ฟ เบกเกอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท เออร์เบิน กรีนส์ ไฮโดรโปนิกส์ ซิสเต็มส์ และนายสานสิน ศรีภิรมย์รักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไดสตาร์ เฟรช จำกัด ทั้งสามจะเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการร์เกี่ยวกับลักษณะของรูปแบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการทำฟาร์มเกษตรแนวตั้ง
ผู้เข้าร่วมงานจะมีโอกาสเข้าร่วมประชุมในเชิงปฎิบัติ ซึ่งเปิดให้มีการมีส่วนร่วม โดยกระทรวงอาหารและเกษตรแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี (BMEL) จะพูดถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่ยั่งยืนในภาคการเกษตรของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเกี่ยวกับโอกาสสำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจการเกษตรของเยอรมัน ในทำนองเดียวกัน การประชุมแลกเปลี่ยนเกษตรกรรุ่นใหม่ด้านการเกษตรจีน-ไทยจะจัดการประชุมเชิงปฏิสัมพันธ์ เรื่อง “เกษตรกรในอนาคต: กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จในการเกษตรที่ยั่งยืนและการเป็นผู้ประกอบการการเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ของจีนและไทย” ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์มุมมองของเกษตรกรรุ่นใหม่จากจีนและไทย
สำหรับวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ผู้เข้าร่วมงานจะมีโอกาสเลือกเยี่ยมชมฟาร์ม ระหว่าง ชนม์เจริญฟาร์ม ในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งดำเนินการโดย เจียไต๋ x ทรู ดิจิตอล โซลูชั่น โดยผู้เข้าร่วมงานสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่มีการใช้ในการบริหารจัดการ ชนม์เจริญฟาร์ม เช่น ระบบให้น้ำพืช สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ โดรน และหุ่นยนต์เพื่อการเกษตร ว่าผสานรวมเข้ากับแนวทางการทำฟาร์มแบบยั่งยืนได้อย่างไร หรือผู้เข้าร่วมงานสามารถเลือกเยี่ยมชม ไดสตาร์ เฟรช ฟาร์ม ซึ่งเป็นฟาร์มเกษตรแนวตั้งในร่มที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผู้เข้าร่วมงานสามารถเห็นถึงการปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน และการใช้หินภูเขาไฟและแร่เวอร์มิคูไลท์นั้นช่วยป้องกันศัตรูพืชและเชื้อโรคได้อย่างไร ในขณะที่ยังคงรักษาการใช้น้ำอย่างเหมาะสมและสภาพแวดล้อมที่พอดีสำหรับพืชผล ทั้งหมดนี้สามารถทำได้ในขณะที่ควบคุมความสมดุลของแสง อุณภูมิ สิ่งแวดล้อม และสารอาหารที่เหมาะสม
หากกล่าวโดยรวมแล้ว งานประชุมและนิทรรศการ AGRICONNECT 2023 เป็นงานสำคัญที่รวบรวมเหล่าผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้นำอุตสาหกรรมในภาคการเกษตรเพื่อหารือและแสดงแนวทางปฏิบัติด้านการเกษตรแบบยั่งยืน เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรม งานนี้ผู้เข้าร่วมงานสามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับข้อมูลเชิงลึกอันมีค่า โอกาสในการสร้างเครือข่าย และความร่วมมือทางธุรกิจใหม่ๆ สำหรับผู้เข้าร่วมจากภาคส่วนต่างๆ รวมถึงธุรกิจการเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร และเกษตรกรรม
งานประชุมและนิทรรศการ AGRICONNECT 2023 นี้ ได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลามจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม ผู้นำมืออาชีพ พันธมิตร และผู้สนับสนุน ซึ่งรวมไปถึง บริษัท เบวา (เยอรมัน) จำกัด, บริษัท ไบโอไซ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ซีเอ็นเอช อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) จำกัด คณะผู้จัดงานอยากเชิญชวนทุกท่านที่สนใจถึงอนาคตของเกษตรกรรมยั่งยืน เข้าร่วมงานเพื่อร่วมการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ในวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2566 ณ. ทรู ดิจิทัล พาร์ค กรุงเทพมหานคร อย่าพลาดโอกาสในการเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนอนาคตของเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ภายในงานประชุมและนิทรรศการ AGRICONNECT 2023
หากต้องการลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ตรวจดูราคาบัตรเข้างาน หรือรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.agritechnica.com/agriconnect/
หรือติดต่อ:
นางณัฐรินีย์ โชคพนารัตน์ ที่ [email protected] หรือ +66-95-752-5054
นางกมลชนก นันทบุรมย์ ที่ [email protected] หรือ +66-94-965-5889
ติดต่อ:
นิดา ชุณหชาติ
ฝ่ายการตลาดและการสื่อสารองค์กร
บริษัท ดีแอลจี ไทย จำกัด
อีเมล์: [email protected]
โทรศัพท์: +66-84-947-9996
แสงทิพย์ เตชะปฏิพันธ์ดี
ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร
บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด
อีเมล์: [email protected]
โทรศัพท์: +66-83-197-8848