ผู้เข้าชมงานจากนานาประเทศยืนยัน AGRITECHNICA ASIA และ HORTI ASIA 2022 อันดับหนึ่งในงานแสดงสินค้าเพื่อการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรแห่งภูมิภาค

ประสบความสำเร็จในการจัดงานด้วยจำนวนผู้เข้าชมงาน 8,326 คน จาก 59 ประเทศ – กว่า 250 แบรนด์ชั้นนำจากนานาชาติ บนพื้นที่งานแสดงสินค้ากว่า 6,700 ตารางเมตร – งานสัมมนาเชิงวิชาการและเชิงปฏิบัติการกว่า 98 หัวข้อ รวมถึงการบรรยายเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวข้าว การประชุมสุดยอดการค้าแห่งเอเชียแปซิฟิก และ หัวข้ออื่นๆอีกมากมาย – ไฮไลท์ Smart Farming Pavilion การสาธิตโดรนเพื่อการเกษตรภายในบริเวณสถานที่จัดงาน – พาวิลเลียนใหม่  การทำเกษตรกรรมแนวตั้ง และพาวิลเลียนกัญชา

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 25-27 พฤษภาคม 2565) วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค และ สมาคมเกษตรแห่งเยอรมัน ประกาศความสำเร็จของการจัดงาน AGRITECHNICA ASIA (อะกริเทคนิก้า เอเชีย) และ HORTI ASIA (ฮอร์ติ เอเชีย) 2022 ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย โดยมียอดผู้เข้าชมงานสูงถึง 8,326 รายจาก 59 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศพันธมิตรรายใหม่ล่าสุดในปีนี้ ตลอดระยะเวลา 3 วันของการจัดงานแสดงสินค้า มีการจัดงานสัมมนาเชิงวิขาการและปฏิบัติการ โดยมีจำนวนวิทยากรกว่า 218 คน จาก 12 ประเทศ ผลัดเปลี่ยนมานำเสนอ แลกเปลี่ยนความรู้ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านผ่านงานสัมมนาแบบผสมผสานระหว่างการจัดงานในรูปแบบปกติ ณ บริเวณสถานที่จัดงาน และการรับชมผ่านทางระบบออนไลน์ กว่า 98 หัวข้อสัมมนา โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมงานสัมมนาภายในงานทั้งสิ้น 4,326 ราย และผู้เข้าชมผ่านระบบออนไลน์อีกกว่า 2,881 คน โดยการจัดงานครั้งนี้มีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานอย่างเป็นทางการ จากความสำเร็จดังกล่าว ส่งผลให้พื้นที่งานแสดงสินค้ามากกว่าร้อยละ 60 ได้ถูกจับจองสำหรับงานแสดงสินค้าครั้งต่อไป ซึ่งจะเวียนกลับมาจัดอีกครั้งในอีก 2 ปีข้างหน้านี้ เรียกได้ว่าการจัดงานแสดงสินค้าสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรครั้งนี้มีบทบาทสำคัญในด้านการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งด้านเครื่องจักรกลทางการเกษตรและนวัตกรรมสำหรับพืชสวนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างยิ่ง

“งาน AGRITECHNICA ASIA และ HORTI ASIA เป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้เกิดการลงทุนในเครื่องจักรทางการเกษตรสำหรับฟาร์มในระดับภูมิภาค  เนื่องจากในปัจจุบัน มีตัวเลือกมากมาย โดยเฉพาะอุปกรณ์ในการทำการเกษตรแบบอัจฉริยะที่เข้ามามีอิทธิพลอย่างต่อเนื่อง เราเชื่อมั่นว่างานแสดงสินค้าเป็นสื่อกลางในการเจรจาธุรกิจ ที่รวมถึงการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ช่วยเปรียบเทียบ ให้ข้อมูลที่สำคัญ และสามารถตรวจสอบเครื่องจักรได้อย่างละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน ตลอดจนค้นพบแนวทางการพัฒนาการทำเกษตรในประเทศเวียดนามให้ดียิ่งขึ้น” คุณ Pham Quoc Bao จากบริษัท Sancopack กล่าว

เรามุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ผู้จัดฯ จึงได้ทำการคัดเลือกสินค้าและบริการที่เหมาะสมต่อความต้องการของเกษตรกรและอีกหลากหลายปัจจัยทางการผลิตที่จะช่วยยกระดับผลผลิตทางการเกษตรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งภายในงาน AGRITECHNICA ASIA และ HORTI ASIA เรียกได้ว่าเป็นงานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีทางการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคสำหรับการนำเสนอเกษตรอัจฉริยะและการผลิตพืชสวน โดยมีผู้ซื้อและร่วมเจรจาธุรกิจรายสำคัญมากกว่า 350 รายเดินทางมาเข้าร่วมงานจากทั่วเอเชีย

“การเข้าถึงอุปกรณ์ที่เหมาะสมและมีคุณภาพ นับเป็นพื้นฐานของการทำฟาร์มสมัยใหม่ งาน AGRITECHNICA ASIA ได้เปิดโอกาสให้ทางบริษัท CLAAS ติดต่อกับผู้ซื้อรายสำคัญที่มาจากฟาร์มขนาดใหญ่ทั่วทั้งภูมิภาค ได้แลกเปลี่ยนแนวคิด รวมถึงการเจรจาธุรกิจผ่านรูปแบบงานแสดงสินค้า นับเป็นแนวทางใหม่ที่ส่งผลให้ผู้ซื้อและขายได้พบกันและได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเข้าร่วมงานในครั้งนี้” คุณ Anil Menon กรรมการผู้จัดการ บริษัท CLAAS Regional Center South East Asia

ด้วยความร่วมมือจาก 250 แบรนด์ชั้นนำจาก 26 ประเทศทั่วโลก ร่วมกันนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ และแนวทางแก้ไขปัญหาทางการเกษตรสำหรับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็นจากผู้ผลิตในประเทศไทย อินเดีย เยอรมัน อิตาลี จีน เวียดนาม เป็นต้น

โปรแกรมงานสัมมนาเพื่อการอภิปรายหัวข้อต่างๆ ในเชิงลึก
นอกเหนือจากการจัดแสดงเทคโนโลยีรถแทรกเตอร์ รถเกี่ยวข้าว และโดรนการเกษตร ภายในงานมีโปรแกรมงานสัมมนาถึง 98 หัวข้ออภิปรายต่างๆในเชิงลึก อาทิ การปลูกกัญชง-กัญชา การผลิตข้าวอย่างยั่งยืน ตลอดจนการทำเกษตรกรรมแนวตั้ง (Vertical Farming) และ พาวิลเลียน Smart Farming ซึ่งเป็นโซนใหม่ของงานในปีนี้ที่ริเริ่มโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (MOAC) มุ่งเน้นที่จะผลักดันเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) ในอีกทศวรรษข้างหน้า ปูทางให้เกษตรกรรุ่นใหม่ ได้แบ่งปันแนวทางปฏิบัติทางการเกษตร และส่งต่อวิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่สำหรับเกษตรกรรุ่นต่อๆ ไปในประเทศไทย

มีการนำเสนอ 3 พาวิเลียนที่นับเป็นไฮไลท์ภายในงาน ได้แก่ พาวิลเลียน Thailand Smart Farming (การเกษตรแบบอัจฉริยะ) พาวิลเลี่ยน Vertical Farming การทำเกษตรกรรมแบบแนวตั้ง และพาวิลเลียน Cannabis Pavilion หรือกัญชง-กัญชา  ทั้งสามโซนได้จัดแสดงสินค้าและนวัตกรรมมากมายจากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญในแขนงนั้นๆ รวมถึงการสาธิตโดรนเพื่อการเกษตร และการจำลองการทำเกษตรแม่นยำให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับชม ซึ่งสร้างความประทับใจให้ผู้เข้าชมงานในโซนเหล่านี้เป็นอย่างมาก

ไฮไลท์ของการประชุมและสัมมนาที่น่าสนใจ อาทิ งานสัมมนาในหัวข้อ ผลกระทบของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล หลังสถานการณ์โควิด-19 / การใช้เครื่องจักรกลการเกษตร / การดูแลพืชผลหลังการเก็บเกี่ยว / การทำเกษตรอัจฉริยะเพื่อกระบวนการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน / การพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรด้วยการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะในประเทศไทย และการประชุมสัมมนาในหัวข้อ เช่น The Thai-Dutch AgTech startup ซึ่งสามารถเข้ารับชมได้ผ่านระบบออนไลน์ตามความต้องการของผู้เข้าฟัง

งานสัมมนาพิเศษที่จัดโดยกระทรวงอาหารและการเกษตรแห่งประเทศเยอรมัน  (German Federal Ministry of Food and Agriculture, BMEL) และ สมาคมเกษตรแห่งเยอรมัน (DLG) สนับสนุนการจัดงานประชุมสุดยอดการค้าสำหรับภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมการส่งออก การประชุมนี้เปิดโอกาสผู้เข้าร่วมได้สร้างเครือข่ายทางการค้ากับผู้เชี่ยวชาญ ผู้ผลิต และคู่ค้าในภูมิภาค

พร้อมกันนั้น กรมส่งเสริมการเกษตรแห่งประเทศไทยได้เชิญกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าร่วมในโปรแกรมอบรบพิเศษ เพื่อตอบสนองความต้องการ เสริมสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการทำฟาร์มอัจฉริยะ รวมถึงวิธีการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และการดูแลหลังการเก็บเกี่ยว

นวัตกรรมใหม่ตอบโจทย์ปัญหาห่วงโซ่อาหารอุปทาน และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
เมื่อห่วงโซ่อุปทานอาหารพังทลายและวิกฤตของสภาพภูมิอากาศกำลังใกล้เข้ามา คุณ Christine Zimmerman-Loessl ประธานสมาคมการเกษตรกรรมแนวตั้ง หรือ Association for Vertical Farming ประเทศเยอรมัน ได้มองเห็นถึงแนวโน้มที่ชัดเจนและความสำคัญของการทำการเกษตรแนวตั้ง โดยกล่าวว่า “ฉันได้เห็นถึงกระแสในการทำการเกษตรแบบแนวตั้งจากทั่วทุกมุมโลก เราจึงต้องพัฒนาและนำนวัตกรรมใหม่ๆมาปรับใช้ เพื่อพัฒนาการทำการเกษตรแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะในประเทศไทยที่เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน”

“การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุผลดังกล่าว  ทำให้เราต้องทำการวิจัยเพิ่มเติมร่วมกับประเทศพันธมิตร รวมถึงประเทศไทย ในประเด็นเกี่ยวกับการปลูกข้าวอย่างยั่งยืน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ทางเรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เข้าร่วมงานเกษตรระดับประเทศอย่างงาน AGRITECHNICA ASIA Live ที่จะจัดขึ้น ณ ประเทศเวียดนามในปีนี้  ” คุณ Martin Gummert นักวิทยาศาสตร์อาวุโส ประจำสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ International Rice Research Institute (IRRI) กล่าว

นับเป็นครั้งแรกของ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค ร่วมกับ สมาคมเกษตรแห่งเยอรมนี สำนักงานประเทศไทย ผสานความร่วมมือกับภาคการเกษตร เวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศพันธมิตรที่ได้รับการคัดเลือกสำหรับการจัดงานในครั้งนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศเวียดนาม ซึ่งทางกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม (MARD) จะส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมงานและร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงาน ‘AGRITECHNICA ASIA Live’ เป็นงานแสดงการสาธิตเครื่องจักรกลเกษตรแบบกลางแจ้ง ที่จะจัดขึ้นที่จังหวัด Can Tho ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ 24-26 สิงหาคม 2565 นี้

สำหรับงาน AGRITECHNICA ASIA และ HORTI ASIA ครั้งถัดไป มีกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะต้อนรับผู้ทำธุรกิจทางการเกษตรทั้งพืชไร่และพืชสวนจากทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกเหนือจากนั้น สำหรับภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก จะมีการจัดงาน AGRITECHNICA 2023 ระหว่างวันที่ 12-18 พฤศจิกายน 2566 ณ เมือง ฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมัน ซึ่งเป็นเวทีเจรจาการค้าสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในโลก

งาน AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA จัดโดย สมาคมเกษตรแห่งเยอรมัน DLG International GmbH และบริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพร่วมอย่างเป็นทางการ

งานแสดงสินค้าทางการเกษตรครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจาก สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute) สมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

สำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:


สมาคมเกษตรแห่งเยอรมัน (DLG) :
Rainer Winter           โทรศัพท์: +49 6924788 212            [email protected]
Malene Conlong       โทรศัพท์: +49 6924788237             [email protected]

วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค:
แสงทิพ เตชะปฏิภาณดี ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารการตลาด         [email protected]
พิชชาภา พันธุ์มณี         ฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อมวลชน     [email protected]
โทร. 02-1116611 ต่อ 330-331 (วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค)     www.vnuasiapacific.com