วิฟ เอเชีย 2025 ร่วมกับ มีท โปร เอเชีย และ ฮอร์ติ อะกริ เน็กซ์ เอเชีย! เปิดเวทีงานแสดงสินค้านานาชาติ
/in E-newsletter, Press Room/by admChutimonกรุงเทพฯ ประเทศไทย – วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค ร่วมกับ วีเอ็นยู ยุโรป ประกาศความพร้อมในการจัดงาน VIV Asia (วิฟ เอเชีย) สุดยอดงานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมปศุสัตว์ครบวงจร ตั้งแต่อาหารสัตว์ สู่ อาหารเพื่อการบริโภค ครั้งที่ 17 พร้อมจัดงาน Meat Pro Asia (มีท โปร เอเชีย) งานแสดงเทคโนโลยีด้านกระบวนการผลิต การแปรรูป การขนส่ง ระบบควบคุมความเย็น และบรรจุภัณฑ์ เพื่อเชื่อมโยงธุรกิจปศุสัตว์จากฟาร์มถึงมือผู้บริโภค และพิเศษสุดกับการเปิดตัวงานใหม่ล่าสุด HAN Asia (Horti Agri Next Asia ฮอร์ติ อะกริ เน็กซ์ เอเชีย) เน้นสินค้าและเทคโนโลยีด้านการเกษตร ต่อยอดความสำเร็จของ Horti Asiaในอดีต
ทั้ง 3 งานแสดงสินค้าจะจัดขึ้นพร้อมกันระหว่างวันที่ 12-14 มีนาคม พ.ศ. 2568 ณ IMPACT เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ครอบคลุมพื้นที่การจัดงานทั้งชาเลนเจอร์ 1-3 และเอ็กซิบิชั่นส์ฮอลล์ 5-7 รวมกว่า 75,000 ตารางเมตร ถือเป็นงานแสดงสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียสำหรับอุตสาหกรรมปศุสัตว์ สัตว์น้ำ การเกษตร และการแปรรูปอาหาร มีจุดเด่นคือการดึงดูดผู้เข้าร่วมงานจากนานาชาติในสัดส่วนมากกว่า 60% รวมถึงผู้ประกอบการกว่า 1,500 บริษัทชั้นนำจากทั่วโลก แบ่งเป็นผู้ประกอบการชาวไทย 7% เอเชีย 46% และภูมิภาคอื่น พาวิลเลี่ยนนานาชาติจากประเทศชั้นนำอย่าง ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหราชอาณาจักร และอินเดีย คาดการณ์ผู้เข้าชมงานและนักลงทุนกว่า 50,000 รายจากทั่วโลก สะท้อนถึงศักยภาพในฐานะศูนย์กลางธุรกิจและเครือข่ายระดับนานาชาติ ภายในงานมีกิจกรรมสัมมนากว่า 150 หัวข้อ โดยมีวิทยากรรับเชิญกว่า 300 ท่าน ซึ่งครอบคลุมประเด็นสำคัญ อาทิ การจัดการโรคในปศุสัตว์และสัตว์น้ำ มาตรฐานความปลอดภัยอาหาร นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ และการเกษตรที่ยั่งยืน โดยมีสัมมนาภาษาไทย 15 หัวข้อที่สามารถเข้าร่วมได้ฟรีเพียงลงทะเบียนล่วงหน้า และสัมมนานานาชาติอีกมากมาย
ภาคปศุสัตว์และการเกษตร: หัวใจสำคัญของเศรษฐกิจไทยและเอเชีย
อุตสาหกรรมปศุสัตว์และการเกษตรมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย โดยในปี 2025 คาดว่ามูลค่าการผลิตรวมของตลาดการเกษตรในประเทศไทยจะอยู่ที่ 28.91 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ยปีละ 0.28% จนถึงปี 2029 ขณะที่ GDP จากภาคปศุสัตว์ในประเทศคาดว่าจะขยายตัว 2.7% ในปี 2025 ส่งเสริมการเติบโตโดยรวมของภาคเกษตร ในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าจะมีการเติบโตเฉลี่ย 6.0% ต่อปี (CAGR) โดยมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 531.88 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2024
งานแถลงข่าวอย่างเป็นทางการของ VIV Asia 2025: เปิดตัวไฮไลท์และความพร้อมจัดงานระดับนานาชาติ
เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา ผู้จัดงาน VIV Asia พร้อมตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรมหลักได้ร่วมกันแถลงข่าวเพื่อประกาศความพร้อมในการจัดงาน VIV Asia, Meat Pro Asia และ Horti Agri Next Asia 2025 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-14 มีนาคม 2568 ณ อิมแพค เมืองทองธานี โดยการแถลงข่าวครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ไฮไลท์สำคัญของงาน รวมถึงสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมในระดับภูมิภาคและนานาชาติ การแถลงข่าวนำโดย คุณปนัดดา ก๋งม้า รองผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จำกัด และ คุณเบอร์กิต ฮอร์น ผู้อำนวยการ บริษัท วีเอ็นยู ยุโรป ร่วมด้วยผู้สนับสนุนอย่าง คุณภูริพันธ์ บุนนาค รองผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
ตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมงานประกอบด้วย คุณ Francine Sayoc ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมเมล็ดพันธุ์พืชภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก, คุณสุพล ธนูรักษ์ เลขาธิการ สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย, น.สพ. ระพี ปัญญาทอง อุปนายก สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย, คุณอุมารินทร์ โฉมเฉิด รักษาการผู้อำนวยการ สำนักสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน), คุณทวีศักดิ์ วรรณาทิพยาภรณ์ กรรมการฝ่ายจัดแสดงสินค้าและนวัตกรรม สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) และคุณปกรณ์ มาศผล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อิชิดะ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีหัวข้อสำคัญของงานในปีนี้คือ “Regenerative Agriculture and Disease Management” เน้นย้ำถึงแนวทางการเกษตรที่ยั่งยืนและการจัดการโรคอย่างมีประสิทธิภาพในทุกภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนในอนาคต
“งานในครั้งนี้เป็นการรวมตัวครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ การแปรรูปอาหาร และเทคโนโลยีเกษตรครบวงจรที่สุดในเอเชีย เราภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนเศรษฐกิจไทยและภูมิภาค โดยคาดว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจ (Economic Impact) จากการจัดงานครั้งนี้จะอยู่ที่ประมาณ 38.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 1,340.5 ล้านบาท เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับประเทศและสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระดับโลก นี่คืองานแสดงสินค้าที่ครบทุกมิติและใหญ่ที่สุดในเอเชีย พบ 1,500 บริษัทชั้นนำจาก 46 ประเทศทั่วโลก ในที่เดียว โดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการค้า คาดการณ์ว่าจะต้อนรับผู้เข้าชมงานกว่า 50,000 ราย นับเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่สำหรับทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมนี้” นางสาวปนัดดา ก๋งม้า รองผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จำกัด (ผู้จัดงาน) กล่าว
คุณภูริพันธ์ บุนนาค รองผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “สสปน. มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยสนับสนุนงานแสดงสินค้าและประชุมระดับโลก เช่นงานนี้ที่ดึงดูดนักธุรกิจและนักลงทุนกว่า 130 ประเทศทั่วโลก สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นการลงทุน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว และส่งเสริมความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับประเทศไทยสู่เวทีโลก”
ในส่วนของภาคปศุสัตว์ “การพัฒนาชุดตรวจโรคระบาดในปศุสัตว์และประมงเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันการระบาด ลดความสูญเสีย เพิ่มคุณภาพผลผลิต และยกระดับความเชื่อมั่นในสินค้าเกษตรของไทยในตลาดโลก เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน” กล่าวโดย คุณอุมารินทร์ โฉมเฉิด ผู้อำนวยการ สำนักสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และ น.สพ. ระพี ปัญญาทอง อุปนายกสมาคม สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย กล่าวว่า “รู้ทันโรคระบาดที่เกิดจากแบคทีเรียในฟาร์มสุกร นำไปสู่แนวทางการรับมือ และจัดการโรคในฟาร์ม ช่วยลดและป้องกันการระบาดของโรค ส่งผลต่อการผลิตสุกรคุณภาพและการพัฒนาโรงเรือนให้มีประสิทธิภาพ”
ในส่วนของภาคการผลิต คุณทวีศักดิ์ วรรณาทิพยาภรณ์ กรรมการฝ่ายจัดแสดงสินค้าและนวัตกรรม สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย กล่าวว่า “เทคโนโลยี Far-UVC กำลังเป็นที่จับตามองในขณะนี้ เพราะไม่เพียงเป็นทางเลือก แต่ยังเป็นทางรอดสำหรับบ่อเลี้ยงกุ้ง เทคโนโลยีนี้ถูกนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคในระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ช่วยปกป้องสัตว์น้ำจากแบคทีเรียและไวรัส พร้อมยกระดับประสิทธิภาพในภาคการผลิตประมงได้อย่างยั่งยืน” ซึ่งในส่วนของนวัตกรรม นายปกรณ์ มาศผล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อิชิดะ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ปีนี้ Ishida เปิดตัวเครื่องเอ็กซเรย์รุ่นใหม่ที่มาพร้อมเทคโนโลยีเซ็นเซอร์และการประมวลผลภาพที่ทันสมัย มีความแม่นยำสูง เหมาะสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมอาหารโดยเฉพาะ จุดเด่นของเครื่องรุ่นนี้คือความสามารถในการตรวจจับวัตถุแปลกปลอมที่มีความหนาแน่นต่ำและขนาดเล็กได้อย่างแม่นยำ รวมถึงคงประสิทธิภาพการตรวจจับแม้ผลิตภัณฑ์จะทับซ้อน และการประมวลผลภาพเพื่อแยกแยะอาหารและสิ่งแปลกปลอมอย่างชัดเจน ลดอัตราความผิดพลาดในการตรวจจับได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ในส่วนของภาคเกษตร Ms.Francine Sayoc, Executive Director, Asia and Pacific Seed Alliance (APSA) กล่าวว่า “เมล็ดพันธุ์เป็นจุดเริ่มต้นของการเกษตร ดังนั้นเรามองว่างาน HAN Asia 2025 เป็นโอกาสที่จะขับเคลื่อนพันธกิจของเราในการสนับสนุนการเกษตรที่ยั่งยืนผ่านการผลิตและการค้าของเมล็ดพันธุ์คุณภาพ เรารอคอยที่จะสร้างความเชื่อมโยงที่สำคัญกับผู้มีบทบาทอื่น ๆ ในห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตรในภูมิภาค” และ คุณสุพล ธนูรักษ์ เลขาธิการ สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย เสริมถึงประเด็น “วิกฤติการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมมีผลต่อผลผลิตทางพืชสวนมีหลายด้านไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิที่สูงขึ้น, ปริมาณน้ำฝนที่ไม่แน่นอน, ผลกระทบต่อคุณภาพของดินและการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ผลกระทบเหล่านี้ทำให้เกษตรกรต้องปรับตัวและหาทางเลือกใหม่ๆ เช่น การเลือกใช้พันธุ์พืชที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง หรือการใช้เทคโนโลยีในการเกษตรที่ช่วยให้การผลิตเป็นไปได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ”
หลอมรวม Community เข้าด้วยกันผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
วิฟ เอเชีย เป็นมากกว่าแค่งานแสดงสินค้า ที่นี่คือคอมมูนิตี้ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่มาพบปะ อัปเดตข่าวสารและสนุกสนานไปพร้อมกันภายใต้กิจกรรมมากมาย อาทิ VIV Asia Golf Connect 2025 การแข่งขันกอล์ฟสำหรับผู้บริหาร, Grand Networking Reception งานพิธีเปิดและเลี้ยงรับรองในเช่วงเย็น, Country of Honor Night เพื่อเฉลิมฉลองประเทศเกาหลีใต้และอินโดนีเซีย, แคมเปญ Industry Leader Campaign สำหรับแขกวีไอพี และ Group Delegation ที่รอต้อนรับเกษตรกรกลุ่มใหญ่ที่เดินทางจากนานาประเทศ, Guided Tour Campaign ทัวร์เยี่ยมชมงาน 5 เส้นทาง พร้อมล่ามแปลภาษาแบบเรียลไทม์ รวมถึงบริการ Free Transportation to IMPACT สำหรับผู้ลงทะเบียนล่วงหน้า โดยมีรถบัสรับส่งฟรีจาก MRT สถานีศรีรัชไปยังอิมแพค เมืองทองธานี เพิ่มความสะดวกในการเข้าชมงาน
พบกันที่งาน VIV Asia / Meat Pro Asia / Horti Agri Next Asia 2025 ระหว่างวันที่ 12-14 มีนาคม พ.ศ. 2568 ณ อิมแพค เมืองทองธานี ปีนี้ทุกการลงทะเบียนหน้างานจะมีค่าใช้จ่าย 15 ยูโร หรือ 600 บาท ขอเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจทุกท่านเข้าไปลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้าเพื่อรับบัตรเข้างานฟรี (ภายในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2568) ทาง www.vivasia.nl / www.meatpro-asia.com / www.hortiagrinext-asia.com _____________________________________________________________________________________________________________
สำหรับบรรณาธิการและสื่อมวลชน ติดต่อ [email protected] โทร. 02-1116611 ต่อ 330-335
เกี่ยวกับงาน VIV Asia / Meat Pro Asia / Horti Agri Next Asia 2025
สำหรับงาน VIV Asia ปีนี้ นำเสนอธุรกิจครอบคลุมหลากหลายสปีชีส์ ทั้งสัตว์เนื้อแดง สัตว์น้ำ สัตว์ปีกและไข่ โคและผลิตภัณฑ์จากนม นำเสนอเทคโนโลยีครบวงจรตั้งแต่ ส่วนผสมอาหาร สารเติมแต่ง การดูแลสุขภาพสัตว์ การผสมพันธุ์ การฟักไข่ จนถึงการผลิตและการจัดการในฟาร์ม จัดโดย บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค และ บริษัท วีเอ็นยู ยุโรป | www.vivasia.nl
สำหรับงาน Meat Pro Asia เน้นนำเสนอโซลูชันและเทคโนโลยีอัจฉริยะในด้านวิศวกรรมอาหาร การตัดแต่งชิ้นเนื้อ ระบบขนส่ง-ความเย็น และบรรจุภัณฑ์ จัดโดย บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค และ บริษัท Messe Frankfurt New Era Business | www.meatpro-asia.com
พิเศษสุดในปีนี้กับการเปิดตัวภาคเกษตร ซึ่งนำเสนอ เทคโนโลยีการเกษตรสำหรับพืชสวนและพืชไร่ รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Feed Technology และ Crop Technology เชื่อมโยงภาคเกษตรและปศุสัตว์เข้าด้วยกันอย่างลงตัวในงาน Horti Agri Next Asia (ฮอร์ติ อะกริ เน็กซ์ เอเชีย) จัดโดย บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค | www.hortiagrinext-asia.com
ข่าวประสัมพันธ์พิเศษ!
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเวที Pitching ในงานแสดงสินค้าปศุสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดและครบวงจรที่สุดในเอเชีย! ชิงรางวัลมูลค่า 100,000 บาท!
SMElevate Spotlight: From Feed to Food เป็นโครงการร่วมมือกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งเน้น SMEs และสตาร์ทอัพที่มีนวัตกรรมในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์จนถึงการทำผลิตภัณฑ์ สร้างโอกาสในการนำเสนอแนวคิดและผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงวงการ โดยการนำเสนอจะเป็นภาษาอังกฤษ จัดวันที่ 14 มีนาคม 2568 ณ เวที VIV Square, IMPACT Challenger Muang Thong Thani | หมดเขตรับสมัครวันที่ 24 มกราคม 2568 23:59 (GMT+7)
รายละเอียดโครงการ : https://drive.google.com/drive/folders/1gnThYTv6TEic7g6H1xTe_XjKtRIHEkKE
ลงทะเบียนเข้าร่วมผ่านลิ้งค์ : https://forms.gle/brhF8KeuTiYatYHj9
สำหรับบรรณาธิการและสื่อมวลชน ติดต่อ [email protected] โทร. 02-1116611 ต่อ 330-335
ดาวน์โหลด
ไฟล์ข่าวประชาสัมพันธ์ และ ภาพถ่ายของงานแถลงข่าว ที่นี่!