วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค – เผยผลงานตลอดปี 2563 และ แผนงานของปี 2564
10 กุมภาพันธ์ 2564 (กรุงเทพ, ประเทศไทย)
ปี 2563 นับเป็นปีที่ท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าทั่วโลก ซึ่งบริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค ได้ก้าวผ่านช่วงเวลานี้อย่างเข้มแข็งด้วยการลงทุนเพิ่มมูลค่าในแบรนด์และนำประสบการณ์ที่เรียนรู้ระหว่างปีที่ผ่านมาปรับใช้ในการวางแผนงานในปี 2564 ทั้งนี้ บริษัทมีการแสดงจุดยืนใหม่ด้วยการพัฒนาการจัดงานผ่านโลกดิจิทัลด้วยการจัดงานบนแพลตฟอร์มออนไลน์ควบคู่ไปกับการจัดงานแสดงสินค้าในรูปแบบปกติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มการลงทุน และ การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างทั่วถึง แม้ในช่วงสถานการณ์ปัจจุบันที่ยังคงมีข้อจำกัดด้านการเดินทางนอกจากนี้ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค ยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างงานแสดงสินค้าและแพลตฟอร์มใหม่เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การลงทุนครั้งใหญ่สำหรับการย้ายสำนักงานและการปรับภาพลักษณ์ของแบรนด์ในปี 2563
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 วีเอ็นยูฯได้ตัดสินใจย้ายสำนักงานมาสู่ใจกลางเมืองอย่างอาคารเดอะปาร์ค (The PARQ) ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรเจ็ค อสังหาริมทรัพย์สุดทันสมัยของกลุ่มบริษัท ทีทีซี (TCC Group) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นของบริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค การขยับขยายสำนักงานครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์หลักของบริษัทที่มีความสำคัญและส่งผลต่อการเติบโตและขยับขยายโครงสร้างของบริษัทเพื่อสอดคล้องกับการเติบโตในอนาคต
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 วีเอ็นยูฯ ได้เปิดตัวภาพลักษณ์ใหม่ของบริษัทด้วยโลโก้สีแดงอันทรงพลัง เพื่อแสดงถึงความเข้มแข็งของแบรนด์และความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างสำนักงานใหญ่ที่เมืองอูเทรกต์ สำนักงานที่เซี่ยงไฮ้ และสำนักงานที่กรุงเทพฯ ส่วนในระดับโปรเจ็คนั้นแบรนด์หลักอย่าง VIV Worldwide ได้ปรับภาพลักษณ์โดยรวมของแบรนด์ด้วยรูปแบบใหม่ ซึ่งมีการนำงานแสดงสินค้าอย่าง ILDEX เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายงาน VIV Worldwide เพื่อส่งเสริมให้โปรไฟล์การจัดงานครอบคลุมหลากหลายประเทศและทุกภูมิภาคทั่วโลก
นอกเหนือจากธุรกิจหลัก วีเอ็นยูฯได้ริเริ่มในการทำ CSR (Corporate Social Responsibility) เพื่อคืนความสุขสู่สังคม โดยเริ่มโครงการเป็นครั้งแรกในปี 2563 ที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นการช่วยเหลือเยาวชนไทยที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ด้านการศึกษาเพื่อปูทางสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต
การเปิดตัวงานแสดงสินค้าในโปรไฟล์ที่หลากหลาย ร่วมกับ พันธมิตรระดับโลก
แม้ว่าจะประสบกับความผันผวนและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา แต่ วีเอ็นยูฯยังคงเดินหน้าอย่างมั่นคงด้วยการประกาศความร่วมมือครั้งใหม่กับการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติร่วมกับพันธมิตรการจัดงานระดับโลก เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเปิดตัวงานแสดงสินค้าให้ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชีย
เริ่มกันที่งาน Free From Food Asia ที่จัดร่วมกับ EBC Expo ผู้จัดงานแสดงสินค้าจากยุโรปที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจอาหารสุขภาพ และ โปรตีนทางเลือก งานครั้งนี้มีกำหนดจัดงานพร้อมกับงานวิฟ เอเชีย เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญและแนวโน้มทางธุรกิจที่เติบโตอย่างมีนัยสำคัญในภูมิภาคเอเชีย โดยโปรไฟล์ธุรกิจหลักของงานจะมุ่งไปที่ อาหารเกษตรอินทรีย์ (Organic), อาหารปราศจากสารปรุงแต่ง (Free From), อาหารฟังก์ชัน (Functional food) ครอบคลุมทั้งผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก
สำหรับในสายอุตสาหกรรมปศุสัตว์ งาน Meat Pro Asia ได้เริ่มเปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี 2564 เช่นกัน ภายในงานมีการครอบคลุมธุรกิจอาหารแปรรูปและบรรจุภัณฑ์ สำหรับไข่ สัตว์ปีก สัตว์เนื้อแดง อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์นม และอาหารแปรรูป ซึ่งงาน Meat Pro Asia เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันระหว่างสองผู้จัดงานใหญ่ระดับโลกอย่าง งาน IFFA โดย Messe Frankfurt New Era Business Media Ltd. และผู้จัดงาน VIV Asia ซึ่งจัดโดยกลุ่มบริษัท วีเอ็นยูฯ
สำหรับอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ วีเอ็นยูฯ ร่วมกับ บริษัท PT Global Permata Perkasa (ประเทศอินโดนีเซีย) เปิดตัวความร่วมมือกันในงาน Aquatica Asia ซึ่งมุ่งเน้นโปรไฟล์ธุรกิจการประมง อุตสาหกรรมสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยง อาหารสัตว์ และการนำเทคโนโลยีมาส่งเสริมการทำธุรกิจในตลาดอินโดนีเซีย ซึ่งแม้ว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความทับซ้อนกับงาน ILDEX Indonesia แต่วีเอ็นยูฯ ก็มองเห็นถึงโอกาสในการร่วมกันพัฒนา ต่อยอดผลักดันให้ภาคธุรกิจนี้เติบโตยิ่งขึ้น
สำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ วีเอ็นยูฯร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ องค์การมหาชน (TCELS) เปิดตัวความร่วมมือครั้งใหม่ในการจัดงาน Bio Asia Pacific ซึ่งเป็นงานแสดงนวัตกรรมและงานประชุมนานาชาติที่มุ่งเน้นกลุ่มภาคธุรกิจ ชีววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ การแพทย์และสาธารณสุขในยุคดิจิตัล ฯลฯ ซึ่งจัดพร้อมกับงาน Thailand LAB INTERNATIONAL ซึ่งเป็นงานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ โดยทั้งสองงานนี้จะเป็นเวทีเชื่อมโยงอุตสาหกรรมทางห้องปฏิบัติการไปสู่นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านชีววิทยาศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
สำหรับอุตสาหกรรมในภาคเทคโนโลยี วีเอ็นยูฯ ร่วมกับพันธมิตรการจัดงานอย่าง EJ Krause ผู้จัดงานแสดงสินค้าและงานประชุมสัมมนาที่เชี่ยวชาญในภาคธุรกิจนี้ เปิดตัวงาน Byond Mobile เพื่อสร้างแพลตฟอร์มใหม่ให้กับภาคธุรกิจอันเกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยี 5G ครบวงจรที่จะเป็นธุรกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเชื่อมโยงตลาดโลกมาสู่เอเชีย ภายในงานจะมีการนำเสนอเทคโนโลยีต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ในภาคเกษตรกรรม สุขภาพ การผลิต การสื่อสาร และยานยนต์ ผู้เชี่ยวชาญในเทคโนโลยีต่าง ๆ อาทิ อินเตอร์เนตสื่อสารไร้สาย และ IT จะถูกเชิญมาที่งานครั้งนี้เพื่อแบ่งปันและถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยี พร้อมทั้งดึงดูดบริษัท blue-chip ชั้นนำระดับโลก และกลุ่มบริษัท start-ups จากทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมาร่วมจัดแสดง โดยมุ่งเน้นการนำเสนอเทคโนโลยีไร้สาย เครือข่ายเคลื่อนที่ คลาวด์โซลูชัน ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และ หุ่นยนต์ ตลอดจนเทคโนโลยี AR/VR ใหม่ล่าสุด machine learning และ ปัญญาประดิษฐ์ AI (Artificial Intelligence)
ความสำเร็จของการจัดงานแสดงสินค้ารูปแบบปกติ ออนไลน์ และแบบผสมผสาน (Hybrid) กับการสร้างตัวตนทางดิจิทัลที่เข้มแข็ง
ในสถานการณ์ที่ยากจะคาดเดาในขณะนี้ วีเอ็นยูฯยังคงไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาและพยายามผลักดันให้เกิดการสร้างงานแสดงสินค้าให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมและสถานการณ์ โดยในปี 2563 ทางบริษัทได้เปิดตัวแพลตฟอร์มออนไลน์ที่หลากหลาย พร้อมไปกับการจัดงานแสดงสินค้าในรูปแบบปกติ และพร้อมมอบประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้เข้าชมงานในรูปแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าชมงานได้รับประโยชน์สูงสุด
ความสำเร็จแรกคือการจัดงาน Pet Fair SEA PreConnect ซึ่งนับเป็นการเปิดตัวอีเว้นท์ในรูปแบบออนไลน์งานแรกของวีเอ็นยูฯ เมื่อเดือนตุลาคม 2563 โดยได้นำเสนอเวทีเจรจาการค้าผ่านระบบออนไลน์ พร้อมกับการนำบริษัทชั้นนำระดับโลก มาจับคู่และเจรจาธุรกิจกับผู้ซื้อชาวเอเชียในระยะเวลาการจัดงานหนึ่งวันเต็ม ซึ่งเปรียบเสมือนกิจกรรมทางการตลาดล่วงหน้าเพื่อปูทางสู่การจัดงานแสดงสินค้าในรูปแบบปกติในปี 2564 โดยการจัดงาน Pet Fair SEA PreConnect ประสบความสำเร็จอย่างงดงามด้วยจำนวน 152 บริษัทชั้นนำ พร้อมกับผู้เข้าร่วมงาน 430 ราย นำมาสู่การประชุมและเจรจาธุรกิจมากกว่า 588 ครั้ง ในระยะเวลาเพียง 12 ชั่วโมง ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย
พร้อมกันนี้ ยังมีการเปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่สำหรับภาคเกษตร โดยริเริ่มจากการจัดสัมมนาออนไลน์ AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA “digital talks” และเรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรชั้นนำระดับโลก ได้แก่ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (IRRI) และศูนย์พืชผักโลก (World Vegetable Center) โดยมีผู้ลงทะเบียนฟังเสวนาจาก 30 ประเทศ เพื่ออัพเดทแนวทางการผลิตพืชที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญกว่า 572 ท่าน ที่ลงชื่อเข้าใช้ และนัดหมายธุรกิจกับผู้ประกอบการผ่านระบบออนไลน์ “digital connect”
นอกจากนี้งาน Thailand LAB INTERNATIONAL และ BIO Asia Pacific เมื่อตุลาคมที่ผ่านมา ได้ปรับรูปแบบการจัดงานเป็นแบบผสมผสาน (Hybrid) ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค โดยมีบริษัทชั้นนำร่วมออกแสดงงานทั้งหมด 109 บริษัท และต้อนรับผู้เข้าชมงานมากถึง 8,067 ราย โดยเป็นสัดส่วนผู้เข้าชมงาน แบบปกติ 67% และ แบบออนไลน์ 35% ภายในงานมีการจัดงานประชุมสัมมนามากกกว่า 130 หัวข้อ ทั้งแบบปกติและออนไลน์ โดยมีการถ่ายทอดสดไปยังช่องทางออนไลน์ ทั้งทาง Facebook Live และ YouTube Live เพื่อให้ผู้เข้าชมงานเข้าร่วมได้จากทุกที่
ในส่วนของงานปศุสัตว์อย่าง ILDEX ก็มีการเปิดตัวการจัดงานแบบดิจิทัลภายใต้โครงการ I-Match & Pitching ซึ่งเป็นงานอีเว้นท์ออนไลน์เพื่อการจับคู่ทางธุรกิจและเวทีสำหรับการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ของบรรดาผู้ประกอบการโดยจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เป็นระยะเวลาสองวันต่อเนื่อง ภายในงานมีตัวแทนจำหน่ายจากนานาประเทศกว่า 26 ราย 8 ประเทศ รวมถ่ายทอดและนำเสนอสินค้าและบริการใหม่ล่าสุดให้กับบรรดาผู้ซื้อ ในรูปแบบการ Pitching ออนไลน์และเกิดการจับคู่ทางธุรกิจมากกว่า 150 ครั้งจากผู้ซื้อรายสำคัญและแขกผู้มีเกียรติที่เราได้เชิญมาจากทั่วภูมิภาคเอเชีย
นอกเหนือไปจากงานแสดงสินค้าทั่วไป วีเอ็นยูฯ ยังมีฝ่ายการจัดงานประชุมนานาชาติมืออาชีพ (PCO) ที่ได้ชนะการประมูลการจัดงานจากผู้จัดจ้างภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน โดยจัดงานประชุมออนไลน์ สำเร็จไปมากกว่า 31 ครั้ง ให้กับทั้งพันธมิตรของภาครัฐและเอกชน อาทิ การประชุมคณะกรรมการจัดประชุมวิชาการนานาชาติประจำปีรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล (Prince Mahidol Award Conference: PMAC), สมาคมการแสดงสินค้าไทย, และสมาพันธ์สมาคมสัตวแพทย์แห่งเอเชีย (FAVA) และ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เป็นต้น
ปี 2564 กับอีกหนึ่งความท้าทายสำหรับตลาดอาเซียน
เนื่องจากผลกระทบของสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลโดยตรงต่อการเดินทางระหว่างประเทศ และความไม่แน่นอนของภาคเศรษฐกิจทั่วโลก วีเอ็นยู กรุ๊ปจึงมีการปรับเปลี่ยนตารางการจัดงานแสดงสินค้าในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 โดยมีงานแสดงสินค้าที่น่าสนใจ ดังนี้
AGRITECHNICA ASIA | อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลทางการเกษตร | 27-29 พฤษภาคม 2564 | BITEC, กรุงเทพ |
HORTI ASIA | อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสำหรับพืชสวน | 27-29 พฤษภาคม 2564 | BITEC, กรุงเทพ |
ILDEX VIETNAM | อุตสาหกรรมปศุสัตว์ | 21-23 กรกฎาคม 2564 | SECC, กรุงโฮจิมินห์ |
Thailand LAB INTERNATIONAL | อุตสาหกรรมด้านห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี | 1-3 กันยายน 2564 | BITEC, กรุงเทพ |
Bio Asia Pacific | อุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ และการแพทย์สมัยใหม่ | 1-3 กันยายน 2564 | BITEC, กรุงเทพ |
VIV Asia | อุตสาหกรรมปศุสัตว์ ตั้งแต่อาหารสัตว์สู่อาหารเพื่อการบริโภค | 22-24 กันยายน 2564 | IMPACT, กรุงเทพ |
Meat Pro Asia | อุตสาหกรรมการแปรรูปเนื้อสัตว์ และบรรจุภัณฑ์ | 22-24 กันยายน 2564 | IMPACT, กรุงเทพ |
Free From Food Asia | อุตสาหกรรมอาหารสุขภาพและโปรตีนทางเลือก | 22-24 กันยายน 2564 | IMPACT, กรุงเทพ |
Pet Fair SEA | อุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยง สำหรับธุรกิจ | 6-8 ตุลาคม 2564 | BITEC, กรุงเทพ |
ILDEX Indonesia | อุตสาหกรรมปศุสัตว์ | 24-26 พฤศจิกายน 2564 | ICE, กรุงจาการ์ตา |
Aquatica Asia | อุตสาหกรรมสัตว์น้ำ | 24-26 พฤศจิกายน 2564 | ICE, กรุงจาการ์ตา |
VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia | อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพสัตว์และโภชนาการสำหรับธุรกิจปศุสัตว์ | 18-20 มกราคม 2565
** (งานแสดงปี 2565) |
BITEC, กรุงเทพ |
Byond Mobile | เทคโนโลยีขั้นสูงสำหรับอนาคต | อยู่ระหว่างดำเนินการ | อยู่ระหว่างดำเนินการ |